เมนู

ส. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่ทุกขสมุทัยนั้นไม่เป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง และทุกขสมุทัยนั้นเป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อริยมรรคไม่เที่ยง และอริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1707] ป. ไม่พึงกล่าวว่า เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อริยมรรคนั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า อริยมรรคนั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์.
ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา จบ

อรรถกถาฐเปตวา อริยมัคคันติกถา



ว่าด้วย เว้นอริยมรรค



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเว้นอริยมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ
เห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะทั้งหลายว่า อริยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหตุใด เพราะเหตุนั้น ยกเว้น

อริยมรรคสังขารที่เหลือชื่อว่า เป็นทุกข์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีกล่าวว่า
แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์หรือ เพื่อท้วงว่า ก็ถ้าว่าครั้นเมื่อความเป็น
อย่างนั้นมีอยู่ไซร้ สภาพแม้แห่งสมุทัยก็ต้องเป็นทุกข์. ปรวาทีตอบปฏิเสธ
หมายเอาสมุทัยนั้นเป็นเหตุลักขณะ คือ สภาวะเป็นเหตุ เมื่อถูกถามอีก
ก็ตอบรับรองหมายเอาสมุทัยนั้นเป็นโลกียธรรมมีความเกิดดับ. ในปัญหา
ทั้งหลายว่า อริยสัจมี 3 เท่านั้นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิด
จากพระสูตร ดังนี้แล.
อรรถกถาฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ

นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา



[1708] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของ
ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยม
ของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.
[1709] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ 4 บุคคล
8 ว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ 4
บุคคล 8 ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
พระสงฆ์รับของทำบุญได้.
[1710] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.